สำนักงานใหญ่
สำนักงานใหญ่
086-4912-980 Mon - Fri 08:00 - 17:00 118/53 หมู่ที่ 4 ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนิติบุคคล
The Best
#1 in ในภาคใต้

งานเสาเข็มเจาะระบบแห้ง ขนาดต่างๆ

Caption aligned here

งานเสาเข็มเจาะระบบแห้ง ขนาดต่างๆ (Bore Pile)

การตอกเสาเข็มในพื้นที่ที่ติดกับอาคารข้างเคียง อาจเกิดการสั่นสะเทือนสูง ส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียง ทำให้เกิดรอยร้าวได้ เสาเข็มหล่อในที่ หรือเสาเข็มเจาะจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานี้ โดยการทำเสาเข็มเจาะนี้ ทีมงานของเรามีความชำนาญและมีประสบการณ์สูง เรามีการควบคุมงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้วัสดุเหล็ก และคอนกรีตต้องเป็นไปตามข้อกำหนดงานเสาเข็มเจาะระบบแห้งเท่านั้น

ในการทำเสาเข็มเจาะแบบแห้งนั้น จะมีข้อจำกัด คือไม่อาจวางปลายเสาเข็มในชั้นทรายที่มีน้ำ และไม่สามารถเจาะผ่านชั้นทรายที่มีน้ำที่มีความหนามากกว่า 4 เมตรได้ หรือในชั้นดินเหนียวปนทรายหรือตะกอนทรายปนมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากจะมีแรงดันของน้ำ ซึ่งจะทำให้น้ำไหลเข้าสู่หลุมเจาะผ่านชั้นดินได้ตลอดเวลา ส่งผลให้เสาเข็มเจาะสูญเสียสภาพ และส่งผลให้เสาเข็มสูญเสียความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกที่ดีได้ ในการทำเสาเข็มเจาะแบบแห้ง ประกอบด้วยอุปกรณ์ค่อนข้างเล็กไม่ยุ่งยาก เคลื่อนย้ายสะดวก ไม่ต้องการบริเวณทำงานมากนัก อุปกรณ์หลักประกอบด้วย ขาหยั่ง 3 ขา ( TRIPOD ) ปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing) กระเช้าตักดิน (Bucket) ลูกตุ้ม (Cylindrical Hammer) และเครื่องกว้านลม (Air Winch)

ขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะดังนี้
1. การจัดเครื่องมือเข้าศูนย์กลางเสาเข็มเจาะ ปรับตั้ง 3 ขา ให้ได้ตรงแนวศูนย์กลางของเสาเข็ม เมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว จึงตอกหลักยึดปรับแท่นเครื่องมือให้แน่น แล้วใช้กระเช้าเจาะนำเป็นรูลึก (PRE – BORE) ประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร

  1. การตีปลอกเหล็กชั่วคราว (CASING) ลงปลอกเหล็กตรงตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ โดยใช้ เสาเข็มเจาะสามขา. (Tripod Rig) และใช้ลูกตุ้มเหล็ก ตอกปลอกเหล็กชั่วคราว (CASING) ที่มีความยาวท่อนละ 1.20 – 1.50 เมตร ลงดิน ปลอกเหล็กแต่ละท่อนจะต่อกันด้วยเกลียว ความยาวของปลอกเหล็กโดยรวมต้องเพียงพอที่จะป้องกันชั้นดินอ่อนไม่ให้เกิดการพังทลายลงในหลุมเจาะเสาเข็ม ในขณะลงปลอกเหล็กจะทำการตรวจวัดค่าความเบี่ยงเบน ไม่ให้ปลอกเข็มเจาะเอียง โดยปรกติในการปฏิบัติ ค่าความเบี่ยงเบนที่ยอมให้คือ
    ความเบี่ยงเบนแนวราบ 5 เซนติเมตร สำหรับเสาเข็มเดี่ยว
    ความเบี่ยงเบนแนวราบ 7 เซนติเมตร สำหรับเสาเข็มกลุ่ม
    ความเบี่ยงเบนแนวดิ่ง 1 : 100
    (ทั้งนี้ให้ตรวจสอบข้อกำหนดตามรูปแบบรายการหรือสอบถามวิศวกรผู้ออกแบบ)
  2. การเจาะและการใส่ Casing เมื่อตั้ง Tripod เข้าตรงศูนย์เข็มแล้ว ใช้ Bucket เจาะนำเป็นรูลึกประมาณ 1.50 ม.แล้วนำ Casing ซึ่งทำเป็นท่อนๆ ต่อกันด้วยเกลียวตอกลงไปในรูเจาะในแนวดิ่ง จนลึกถึงชั้นดินแข็งปานกลาง (Medium Clay) ที่พอเพียงที่จะป้องกันการพังทลายของชั้นดินอ่อนและน้ำใต้ดินไว้ได้ จากนั้นใช้ Bucket ขุดเจาะเอาดินออกจนถึงชั้นดินปนทราย
    ข้อควรปฏิบัติ และข้อควรระมัดระวัง
    ในระหว่างการเจาะเอาดินขึ้น ต้องตรวจสอบว่าผนังดินพังหรือยุบเข้าหรือไม่ โดยดูจากชนิดของดินซึ่งเก็บขึ้นมา ซึ่งควรจะต้องสอดคล้องกับความลึก ถ้าตรวจพบว่าดินเกิดจากการเคลื่อนพังจะรีบแก้ไขในทันทีโดยตอกปลอกเหล็กชั่วคราวให้ลึกลงไปอีก การตรวจสอบก้นหลุม ใช้สปอร์ตไลท์หรือกระจกเงาส่องดูก้นหลุมว่ามีการยุบเข้า (CABE IN) มีน้ำซึมหรือไม่
  3. ใส่เหล็กเสริม ปกติจำนวนเหล็กเสริมมีค่าประมาณ 0.5% – 1.00 % ของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม เหล็กเสริมนี้จะใส่ Spacer ที่ทำด้วย Mortar ไว้เป็นระยะ เพื่อช่วยประคองโครงเหล็กให้ทรงตัวอยู่ในรูเจาะ โดยมี Covering ไม่น้อยกว่า 7.5 ซม. อยู่โดยรอบเหล็กปลอก โดยทั่วไประยะห่าง ระหว่างเหล็กปลอกจะไม่เกิน 0.20 ม. ความยาวของการต่อทาบเหล็กในแต่ละท่อนเป็น 40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็ก โดยยกให้ปลายเหล็กพ้นจากปลายล่างของหลุมเจาะประมาณ 0.50 ม.
  4. การเทคอนกรีต ทำการเทคอนกรีตลงในรูเจาะโดยเทผ่านกรวย (Hopper) ที่มีท่อปล่อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6”– 8” เพื่อให้คอนกรีตหล่นลงก้นหลุมตรงๆ ไม่ปะทะผนังรูเจาะ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดการแยกตัวของคอนกรีตได้มาก และเนื่องจากงานหล่อคอนกรีตของเสาเข็มเจาะนั้นไม่สามารถใช้เครื่องเขย่าหรือเครื่องจี้ได้ จึงต้องทำให้คอนกรีตมี Workability สูง โดยควบคุม Slump ให้มีค่าอยู่ระหว่าง 12.50 +/- 2.50 ซม.

    ข้อควรปฏิบัติ และข้อควรระมัดระวัง
    โดยปกติจะเทคอนกรีตจนเต็มหรือเกือบเต็มหลุมเจาะ ก่อนทำการถอนปลอกเหล็ก ซึ่งจะทำให้คอนกรีตมีความต่อเนื่องและขณะถอนปลอกเหล็กจะมองเห็นสภาพการยุบตัวของคอนกรีตได้ชัดเจน ทำให้มั่นใจได้ว่าเสาเข็มมีความสมบูรณ์ตลอดความยาว การเทคอนกรีตจนเต็มหรือเกือบเต็มหลุมเจาะนี้แม้จะเป็นข้อดี แต่จะกระทำได้สำหรับเสาเข็มเจาะที่เจาะดินไม่ผ่านชั้นทรายชั้นแรกเท่านั้น เพราะหากต้องเจาะผ่านชั้นทรายชั้นแรก จำเป็นต้องลงปลอกเหล็กยาวลงไปกันชั้นทราย การเทคอนกรีตขึ้นมามากเกินไป จะทำให้ไม่สามารถถอนปลอกเหล็กขึ้นได้ เพราะกำลังเครื่องจักรไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องทำการเทคอนกรีต และถอนปลอกเหล็กกันดินเป็นช่วงๆ กรณีเช่นนี้ควรคอยตรวจเช็คระดับคอนกรีตภายในปลอกเหล็กตลอดเวลาที่ดำเนินการถอน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่มีการไหลดันของดินและน้ำเข้ามา จนทำให้เสาเข็มคอดหรือขาดจากกัน รูเจาะเมื่อได้รับการตรวจสอบและอนุมัติให้เทคอนกรีตได้ ควรจะรีบทำการเทคอนกรีตทันทีเพื่อไม่ให้รูเจาะอ่อนตัวหรือกระทบความชื้นในอากาศนานเกินไป จนสูญเสียแรงเฉือน (SKIN FRICTION) ได้

  5. การถอดปลอกเหล็กชั่วคราว จะต้องเทคอนกรีตให้มีระดับสูงกว่าปลอกเหล็กชั่วคราว (CASING) พอสมควรจึงจะเริ่มถอดปลอกเหล็กขึ้น โดยปกติขณะถอดปลอกเหล็กจะต้องให้มีคอนกรีตอยู่ภายในปลอกเหล็กไมน้อยกว่า 0.50 ม. เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ชั้นดินอ่อนบีบตัว ทำให้ขนาดเสาเข็มเจาะเปลี่ยนไป และเป็นการป้องกันมิน้ำใต้ดินไหลซึมเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะทำการถอดปลอกเหล็กชั่วคราวออกหมด และไม่ให้หัวเข็มในระดับที่ต้องการสกปรก เนื่องจากวัสดุหรือเศษดินร่วงหล่นลงไป ภายหลังจากการถอนปลอกเหล็กออกหมดแล้ว
  6. การทำเสาเข็มต้นต่อไป เสาเข็มต้นต่อไปต้องอยู่ห่างจากเสาเข็มที่เพิ่งทำแล้วเสร็จ ไม่น้อยกว่า 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม หรือใกล้เคียงเสาเข็มต้นเดิมที่ทำแล้วเสร็จไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ดังนั้นในการทำเข็มเจาะ ควรมีการวางแผนการเจาะหรือการวาง Sequence ของการเจาะเสาเข็ม เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อเสาเข็มที่เพิ่งจะหล่อเสร็จใหม่
ทดสอบเสาเข็ม ตรวจเสาเข็ม ทดสอบดิน เจาะสำรวจดิน